ปิดยอดขาย
เกินคาด เปิดตลาดเล็ก ๆ เพียง niche market
“North Festival” งานชา
ที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนออัตลักษณ์และเอกลักษณ์
รวมทรัพยยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าของภาคเหนือ
เปิดตลาดบองมาเช่
บอกเล่าเรื่องราวผ่านผลิตภัณฑ์ที่ได้รังสรรค์ขึ้นจากฝีมือของชุมชนคนเหนือ 28 – 30 กันยายน
2561 ปิดยอดขายเกินคาดหมาย ชิมลางตลาด 42 บูธ เพียงเจาะกลุ่ม niche market
2561 ปิดยอดขายเกินคาดหมาย ชิมลางตลาด 42 บูธ เพียงเจาะกลุ่ม niche market
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) โดยกองตลาดภาคเหนือ
สานต่อภาครัฐนำนโยบายที่จะให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ
เสริมสร้างแลยกระดับตลาดฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สร้างกิจกรรม
ชา...จากยอดดอยสู่เมือง
ที่ตลาดบองมาเช่ เขตจตุจักร
นำรายได้จากเมืองหลวงกระจายสู่ชุมชนโดยแท้จริง ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต”
ไม่เห็นกับตา อาจไม่กล้านำเสนอ กิจกรรม
“North Festival” ชา...จากยอดดอยสู่เมือง เพียง 3 วัน 28 – 30 กันยายน 2561 แวะเข้าชมเที่ยวตลาดบองมาเช่ในวันสุดท้าย 30 กันยายน
เห็นชุมชนผู้ประกอบการและผู้ผลิตชา
จากภาคเหนือโดยตรงที่คุ้นเคยจากไร่นำมาออกจำหน่ายในงาน เพียง 42 บูธ ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ขายโดยตรงถึงได้รู้ว่า
ขายดีจนต้องสั่งสินค้ามาเพิ่มจากเดิมที่นำมาสต็อกเพื่อขายใน 3 วัน
ด้วยยอดขาย 2 – 3 หมื่น ต่อวัน ต่อร้าน
ทำให้เกิดยอดขายทะลุเกินเป้าหมายทั้งผู้ขาย และผู้คิดจัดกิจกรรมในครั้ง
นี้ กับตัวเลขยอดขายวันสุดท้าย (30 กันยายน 2561) 853,754 โดยยอดขายรวม 3 วัน 2,441,049 บาท
นี้ กับตัวเลขยอดขายวันสุดท้าย (30 กันยายน 2561) 853,754 โดยยอดขายรวม 3 วัน 2,441,049 บาท
และในวันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับ
คุณสมฤดี จิตรจง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภูมิภาคภาคเหนือ (ณ วันที่ 30 กันยายน 2561) ผู้ดำริกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพ
สร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน
ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยโดยภูมิภาคภาคเหนือ ได้มี
การจัดกิจกรรมที่อยากจะเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ภาคเหนือไปในกลุ่มของรอบๆกรุงเทพฯ โดยจัดงานที่มีชื่อว่า “ชา จากยอดดอยสู่เมือง” โดยมี Concept ของการจัดงาน คือว่าเรามีการคัดชาหรือกาแฟ จากชุมชนต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง จากกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ที่นำผลิตภัณฑ์ชาของชุมชน มาผสมผสานรสชาติ ที่มีความแตกต่างและมีเอกลักษณ์อยู่ในภาคเหนือ นำมาเสนอให้คนกรุงเทพฯในชานเมืองได้เห็นถึงความละเมียดละไมของสินค้า ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่ชาเท่านั้น ยังมีเรื่องของงานฝีมือที่เป็นคนรุ่นใหม่ จากการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนเข้ามาเป็นงาน
ฝีมือ โดยงานเย็บมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ กระเป๋า หรือหมวก ตลอดจน เรามีชุมชนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความตั้งใจดี อยากจะช่วยในภาวะสับปะรด ที่ปัจจุบันมีราคาตกต่ำ นำมาเสนอเป็นพายสับปะรดที่มีรสชาติหอมอร่อยมาก เพียงวันแรก ก็ขายหมด ต้องสั่งของเพิ่มจากเชียงราย”
การจัดกิจกรรมที่อยากจะเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ภาคเหนือไปในกลุ่มของรอบๆกรุงเทพฯ โดยจัดงานที่มีชื่อว่า “ชา จากยอดดอยสู่เมือง” โดยมี Concept ของการจัดงาน คือว่าเรามีการคัดชาหรือกาแฟ จากชุมชนต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง จากกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ที่นำผลิตภัณฑ์ชาของชุมชน มาผสมผสานรสชาติ ที่มีความแตกต่างและมีเอกลักษณ์อยู่ในภาคเหนือ นำมาเสนอให้คนกรุงเทพฯในชานเมืองได้เห็นถึงความละเมียดละไมของสินค้า ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่ชาเท่านั้น ยังมีเรื่องของงานฝีมือที่เป็นคนรุ่นใหม่ จากการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนเข้ามาเป็นงาน
ฝีมือ โดยงานเย็บมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ กระเป๋า หรือหมวก ตลอดจน เรามีชุมชนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความตั้งใจดี อยากจะช่วยในภาวะสับปะรด ที่ปัจจุบันมีราคาตกต่ำ นำมาเสนอเป็นพายสับปะรดที่มีรสชาติหอมอร่อยมาก เพียงวันแรก ก็ขายหมด ต้องสั่งของเพิ่มจากเชียงราย”
สินค้าทั้งหมดที่นำมาจาก 17 จังหวัดทางภาคเหนือ
นำมาออกร้าน ด้วยกันถึง 42 บูท เพียง 3 วันตั้งแต่วันที่ 28-30 กันยายน 2561
โดยจุดประสงค์หลักจริง ๆ เพียงให้ทุกคนเห็น
ภาพลักษณ์
ใหม่ ๆ ของทางภาคเหนือ เห็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ของทางภาคเหนือ มี นวัตกรรม ในเรื่องของการผสมผสาน เรื่อง สินค้า กับการท่องเที่ยว เพราะไม่ได้มีเพียงแต่สินค้า OTOP เท่านั้น บางบูท จะมีเรื่องของการขายแพ็คเกจ ที่เป็นคู่รัก แล้วเดินทางไปท่องเที่ยว ถ่ายภาพเก๋ ๆ ในชุมชนซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งมิติของการท่องเที่ยว
ใหม่ ๆ ของทางภาคเหนือ เห็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ของทางภาคเหนือ มี นวัตกรรม ในเรื่องของการผสมผสาน เรื่อง สินค้า กับการท่องเที่ยว เพราะไม่ได้มีเพียงแต่สินค้า OTOP เท่านั้น บางบูท จะมีเรื่องของการขายแพ็คเกจ ที่เป็นคู่รัก แล้วเดินทางไปท่องเที่ยว ถ่ายภาพเก๋ ๆ ในชุมชนซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งมิติของการท่องเที่ยว
คุณสมฤดี จิตรจง
กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปีนี้เป็นปีแรก
ที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม ในตลาดบองมาเช่
เราคิดว่าปีนี้เป็นแค่มาทดลองตลาดก่อน แต่ได้รับการตอบรับที่ดีมาก เห็นได้จากการจัดกิจกรรมทั้ง 3 วันที่ผ่านมา
มีรายได้มากกว่า 2 ล้าน สำหรับในปีต่อไปคิดว่าจะนำข้อดี
และข้อด้อย จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
นำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ท้ายที่สุดนี้
เราถือว่าเป็นแนวคิดทางการตลาด ที่ทางภาคเหนือ ปรับรูปแบบทางการตลาด จากเดิมที่จะเน้นไปในการออกบูธ
ในศูนย์ประชุมใหญ่ ๆ ซึ่งหลัง ๆ พบว่าในบางครั้ง ด้วยระบบการจราจร รวมไปถึงพื้นที่ของการจัดในศูนย์ประชุม ใหญ่ ๆ ทั้ง
3 แห่งของกรุงเทพฯ มีกิจกรรมและการจัดงานทุกสัปดาห์อยู่แล้ว
ทำให้ไม่อาจจูงใจให้กับผู้คนที่เดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก
จึงได้มีการปรับรูปแบบ ลักษณะตลาดกองโจร ซึ่งนำ ทั้ง ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม
รวมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรม
และผสมผสานในเรื่องของ แพ็คเกจตลาดท่องเที่ยว ออกนำเสนอในส่วนที่เป็นตลาด มุมเมือง ที่มีศักยภาพทางการซื้อสูง ในขณะเดียวกัน เรายังมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเริ่มทะยอยทำ ไปตามอาคาร ออฟฟิศ ที่เป็นลักษณะ Complex มีหลาย ๆ Office มีผู้คนหรือพนักงานจำนวนเยอะๆ เปรียบเสมือนเรานำสินค้ารวมถึงแพ็คเกจท่องเที่ยวต่างๆไปนำเสนอลูกค้า ในออฟฟิศหรือใกล้บ้านที่สุด สำหรับงานที่จัดที่บองมาเช่นี้ ผู้ประกอบการ หรือชุมชนต่างๆที่มาร่วมออกบูธในครั้งนี้ ก็ทำให้เกิดรายได้เกินเป้าหมายจากที่ได้เตรียมมาในวันแรก สินค้าก็จำหน่ายได้ดีจนหมด ถึงกับต้องสั่งเพิ่ม ซึ่งสินค้าที่นำมาจำหน่าย ส่วนใหญ่เป็นงาน Handmade ซึ่งไม่สามารถผลิตได้จำนวนเยอะ ๆ แม้กระทั่งขนมปังปิ้งจากชุมชน ที่มาจากจังหวัดเชียงรายเป็น ขนมปังที่ได้รับ สูตร ทำจากเชฟ ฝีมือดีจากโรงแรมชื่อดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ผลิตสินค้าชุมชน เพื่อจำหน่ายสู่ตลาดภายนอก”
และผสมผสานในเรื่องของ แพ็คเกจตลาดท่องเที่ยว ออกนำเสนอในส่วนที่เป็นตลาด มุมเมือง ที่มีศักยภาพทางการซื้อสูง ในขณะเดียวกัน เรายังมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเริ่มทะยอยทำ ไปตามอาคาร ออฟฟิศ ที่เป็นลักษณะ Complex มีหลาย ๆ Office มีผู้คนหรือพนักงานจำนวนเยอะๆ เปรียบเสมือนเรานำสินค้ารวมถึงแพ็คเกจท่องเที่ยวต่างๆไปนำเสนอลูกค้า ในออฟฟิศหรือใกล้บ้านที่สุด สำหรับงานที่จัดที่บองมาเช่นี้ ผู้ประกอบการ หรือชุมชนต่างๆที่มาร่วมออกบูธในครั้งนี้ ก็ทำให้เกิดรายได้เกินเป้าหมายจากที่ได้เตรียมมาในวันแรก สินค้าก็จำหน่ายได้ดีจนหมด ถึงกับต้องสั่งเพิ่ม ซึ่งสินค้าที่นำมาจำหน่าย ส่วนใหญ่เป็นงาน Handmade ซึ่งไม่สามารถผลิตได้จำนวนเยอะ ๆ แม้กระทั่งขนมปังปิ้งจากชุมชน ที่มาจากจังหวัดเชียงรายเป็น ขนมปังที่ได้รับ สูตร ทำจากเชฟ ฝีมือดีจากโรงแรมชื่อดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ผลิตสินค้าชุมชน เพื่อจำหน่ายสู่ตลาดภายนอก”
ถือเป็นการเปิดตลาดใหม่ของการท่องเที่ยวภาคเหนือ ที่คิดจัดกิจกรรมสำหรับผู้ที่หลงใหลชอบชา และรักสุขภาพ
โดยเลือกกลุ่มเป้าหมาย
แหล่งจำหน่ายที่มีผู้ซื้อที่มีศักยภาพ
ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ชิมลางเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางการท่องเที่ยว แต่ผมขอเรียกว่าเป็นการทำตลาดแบบ niche
market
โดยปริยายที่ประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง.
www.hellosarapa.com/web19 kadsarapapodrn pnussuwankere 095-5516345
www.hellosarapa.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น