วันนี้ (วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2562) เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวกรมศุลกากร ชั้น 2 อาคาร 1 กรมศุลกากร นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร แถลงสถิติผลงานการจับกุมการลักลอบนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องในรอบ 5 เดือน ( ตุลาคม 2561- กุมภาพันธ์ 2562) รวมมูลค่าของกลาง 598.62 ล้าน
บาท พร้อมเน้น 3 มาตรการ เพื่อยกอันดับความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของธนาคารโลก ด้านการค้าระหว่างประเทศ (Doing Business : Trading Across Border) ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2562 เพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้เร็วขึ้น (faster) ง่ายขึ้น (easier) และถูกลง (cheaper) ซึ่งจะส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในการประกอบธุรกิจ และเป็นประเทศเป้าหมายของนักลงทุน
นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร กล่าวว่า ตามที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายสำคัญในการเร่งรัดปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงนำสินค้า
เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง สินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าที่เป็นภัยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และในรอบ 5 เดือน ( ตุลาคม 2561- กุมภาพันธ์ 2562) กรมศุลกากรสามารถจับกุมการลักลอบและหลีกเลี่ยงนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2557 พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ประกอบกับ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ. 2522 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สินค้าประเภท น้ำมันเชื้อเพลิง(ดีเซลและเบนซิน) เหล้าและไวน์ บุหรี่ สินค้าแบรนด์เนม สินค้าพืชผลทางการเกษตร ยาเสพติด และสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ธนบัตรต่างประเทศ สินค้าตามอนุสัญญาไซเตส (CITES) อะไหล่รถยนต์
และรถจักรยานยนต์ รวมมูลค่าของกลาง 598.62 ล้านบาท จำนวน 1,902 แฟ้มคดี
สำหรับด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศ กรมศุลกากรนำ 3 มาตรการทางศุลกากรเพื่อยกอันดับความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของธนาคารโลก ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2562 (Doing Business : Trading Across
Border 2020) ประกอบด้วย กระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงสำหรับของนำเข้า (Pre - Arrival Processing: PAP) การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) และการไม่เรียก/ไม่รับสำเนาใบขนสินค้าที่มีในระบบ e-Customs (No Customs Declaration Copy) มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรการแรก กระบวนการทางศุลกากรล่วง
หน้าก่อนสินค้ามาถึงสำหรับของนำเข้า (Pre - Arrival Processing : PAP) เป็นหนึ่งในมาตรการทางศุลกากรที่สำคัญ ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการค้า (Trade facilitation Agreement:TFA)
ทั้งนี้สำหรับประเทศไทย นอกจากการส่งบัญชีสินค้า (Manifest) ล่วงหน้าแล้ว ผู้ประกอบการนำของเข้าสามารถยื่นใบขนสินค้าและชำระ
ภาษีอากรล่วงหน้า พร้อมติดต่อเพื่อรับสินค้าทันทีเมื่อเรือ/อากาศยานมาถึงซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเวลาระหว่างการขนส่งแบบปกติกับกระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงสำหรับของนำเข้า (Pre - Arrival Processing) พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่สินค้ามาถึง จนกระทั่งถึงกระบวนการรับของออกจากอารักขาศุลกากร ใช้เวลาลดลง ดังนี้
1. การนำเข้าทางอากาศ แบบ Green Line ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ของมาถึง–รับของออกจากอารักขา แบบปกติ ใช้เวลา 17 ชม. 2 นาที ใช้ระบบ Pre – Arrival Processing ใช้เวลา 1 ชม. 55 นาที ใช้เวลาลดลง 15 ชม. 7 นาที
2. การนำเข้าทางอากาศ แบบ Red Line ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ของมาถึง–รับของออกจากอารักขา แบบปกติ ใช้เวลา 22 ชม. 40 นาที ใช้ระบบ Pre – Arrival Processing ใช้เวลา 4 ชม. 55 นาที ใช้เวลาลดลง 17 ชม. 45 นาที
3. การนำเข้าทางเรือ Green Line ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ของมาถึง–รับของออกจากอารักขา แบบปกติ ใช้เวลา 1 วัน 21 ชม. 39 ใช้ระบบ Pre – Arrival Processing ใช้เวลา 1 วัน 12 ชม. 53 นาที ใช้เวลาลดลง 8 ชม. 46 นาที
4. การนำเข้าทางเรือ Red Line ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ของมาถึง–รับของออกจากอารักขา แบบปกติ ใช้เวลา 1 วัน 11 ชม. 57 นาที ใช้ระบบ Pre – Arrival Processing ใช้เวลา 1 วัน 6 ชม. 47 นาที ใช้เวลาลดลง 5 ชม. 10 นาที
ทั้งนี้กรมศุลกากรได้เปิดใช้ระบบให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา และมีการส่ง Manifest ล่วงหน้าทางเรือและทางอากาศยาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561)
มาตรการที่สอง การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) กรมศุลกากรได้เปิดให้บริการระบบ e-Bill Payment ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการสามารถชำระเงินเกี่ยวกับการดำเนินพิธีการทางศุลกากรผ่านช่องทาง Internet Banking/ Mobile Banking/ ATM/ Counter Bank และตัวแทนชำระเงินได้ทุกพื้นที่ โดยในเบื้องต้นมีธนาคารที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 4 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และตัวแทนรับชำระ (Non-Bank) บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ทำให้ระยะเวลาติดต่อกับกรมศุลกากร ลดลง 3 ชั่วโมงต่อครั้งและลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการได้ครั้งละ 433.74 บาท
มาตรการที่สาม การไม่เรียก/ไม่รับสำเนาใบขนสินค้าที่มีในระบบ e-Customs (No Customs Declaration Copy) โดยสำนักงานศุลกากร ด่านศุลกากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย และท่าเรือแหลมฉบัง ไม่เรียก/ไม่รับสำเนาใบขนสินค้าในขั้นตอนการตรวจปล่อย ทำให้สามารถลดสำเนาใบขนสินค้าที่ผู้มาติดต่อ/ผู้ประกอบการต้องพิมพ์ ปีละประมาณ 60 ล้านแผ่น และลดค่าใช้จ่ายกระดาษได้ไม่น้อยกว่าปีละประมาณ 30 ล้านบาซึ่งการพัฒนามาตรการทางศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ จะลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ส่งออกสินค้า และยกระดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในการประกอบธุรกิจ และเป็นประเทศเป้าหมายของนักลงทุน ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.customs.go.th ในหัวข้อ Doing Business : Trading Across Border
นอกจากนี้ กรมศุลกากร ยังเน้นในเรื่องของความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ หากมีข้อสงสัยหรือ
ข้อร้องเรียน ท่านสามารถร้องเรียน ได้ถึง 9 ช่องทาง ได้แก่ โทรสารหมายเลข 02-667-6919 ส่งไปรษณีย์มาที่กรมศุลกากร Line ID: @customshearing E-mail: ctc@customs.go.th ติดต่อด้วยตนเองที่กลุ่มคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรม สายด่วน 1332 สำนักนายกรัฐมนตรี GCC 1111 หน่วยราชการอื่น เช่น ป.ป.ช. /สตง. หรือร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน และหากประชาชนพบเห็นบุคคล นิติบุคคล หรือสื่อออนไลน์ที่แอบอ้างชื่อ
กรมศุลกากร เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าหรือของบประมาณสนับสนุนในการทำกิจกรรมเพื่อกรมศุลกากร โปรดอย่าหลงเชื่อ เพราะกรมศุลกากรไม่มีนโยบายดังกล่าว ท่านต้องการแจ้งเบาะแสต่อกรมศุลกากรเพื่อให้ดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยผ่าน 9 ช่องทางข้างต้น หรือ รับข้อมูลข่าวสารของกรมศุลกากรที่ถูกต้องตรงประเด็นได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
4. Line Official Account
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น