คณะสื่อมวลชนท่องเที่ยวในโครงการ “พาเที่ยวเมืองตาก”
คณะเราเดินทางไปสักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่ตรงข้ามวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง
ถนนจรด
วิถีถ่อง อำเภอเมือง จังหวัดตาก ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
แห่งนี้มีความสำคัญมากมายต่อจังหวัดตาก
ทั้งยังเป็นศาลที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของเมืองไทย
โดยศาลเดิมนั้นอยู่ที่วัดดอยเขาแก้วฝั่งตรงข้ามตัวเมืองตาก ต่อมาในปี พ.ศ.2490 ได้มีการสร้างศาลขึ้นใหม่โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ และได้สร้างตัวศาลเป็นศาลาแบบจตุรมุขพร้อมกับหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดใหญ่
กว่าพระองค์จริงเล็กน้อยในพระอิริยาบถกำลังประทับอยู่บนราชอาสน์
มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา และที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกไว้ว่า “พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพเมื่อ
พ.ศ.2277 สวรรคต พ.ศ. 2325 รวม 48 พรรษา”
ขณะเดียวกัน
บริเวณด้านหน้าและด้านข้าวของศาลได้มีรูปปั้นม้าศึกประดับไว้รวมทั้งมีบริเวณให้สักการะบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
นอกจากประชาชนทั่วไปจะได้สักการะพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้ว
ใกล้เคียงกันยังมีสวนสิบสองนักษัตรที่มีความร่มรื่นสำหรับผ่อนคลาย
และยังสามารถร่วมทำบุญกับรูปปั้นสิบสองนักษัตรนี้ได้อีกด้วยศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช hellosarapa.com |
จากนั้นเราเดินทางต่อไปยังวัดพระบรมธาตุ บ้านตาก ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองหลวง
อำเภอเมือง จังหวัดตาก วัดพระบรมธาตุ บ้านตาก จัดเป็นวัดเก่าแก่ที่ผ่านการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง
โดยไฮไลท์ที่น่าชมภายในวัดนี้ ได้แก่ อุโบสถ
ซึ่งมีประตูไม้แกะสลักสวยงาม
หน้าบันและจั่วเป็นไม้ ส่วนหน้าต่างแกะสลักเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันไดเป็นนาค
ขณะเดียวกันวิหารของวัดซึ่งเป็นวิหารเก่านั้นมีเพดานสูง 2 ชั้น โดยมีช่องลมอยู่โดยรอบ จึงทำให้อากาศภายในเย็นสบายเหมาะสำหรับนั่งเจริญสติภาวนาวิหารแห่งนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองที่มีพุทธศิลป์งดงามยิ่ง
วัดพระบรมธาตุ hellosarapa.com |
คณะเราเข้าเยี่ยมชมเขื่อนภูมิพล 180/2
หมู่ 6 ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา แต่เวลามีไม่มากนัก
เขื่อนภูมิพล สัมผัสกับธรรมชาติและภูมิประเทศป่าเขา ร่วมงานแถลงข่าว “TAK
SKY TRAIL วิ่งใต้ฟ้า หลังคาตาก” ณ
เขื่อนภูมิพล
เราเดินทางมาถึงบ้านจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งตั้งอยู่ บนถนนตากสิน
ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ลักษณะปัจจุบันเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุน
เดิมเป็นบ้านพักอาศัยของจอมพลถนอม กิตติขจร ตั้งแต่เกิด ต่อมา
ทางครอบครัวกิตติขจร
ได้มอบให้ทางราชการเพื่อใช้เป็นห้องสมุดประชาชนกิตติขจร และได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซมใหม่
ดังที่เห็นในปัจจุบัน ภายในมีการจัดนิทรรศการประวัติของ จอมพลถนอม กิตติขจร มีมัคคุเทศก์น้อยมาดูแลให้ความรู้
เล่าเรื่องบรรยายให้เราฟัง และนำเมี่ยงจอมพลให้มาลิ้มลอง เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางสมุนไพรสูงเพราะมีคุณสมบัติในการบำรุงรักษาธาตุทั้ง
4 เพื่อให้สมดุลกัน น้ำอ้อย,มะพร้าว,ถั่วลิสงหรือมะม่วงหิมพานต์และกุ้งแห้งใช้บำรุงรักษาธาตุดิน
มะนาวและใบชะพลูใช้บำรุงรักษาธาตุน้ำ หอมและพริกใช้บำรุงรักษาธาตุลม
เปลือกของมะนาวและขิงสดบำรุงรักษาธาตุไฟ เมี่ยงคำเมืองตาก หรือเมี่ยงจอมพล
ลักษณะเด่นและส่วนประกอบของเมี่ยง คือ มะพร้าวขูด ข้าวตากแห้งทอด ถั่วลิสงคั่ว
กุ้งแห้ง แคบหมู มะนาว หัวหอมแดง ขิง หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พริกขี้หนูสด เต้าเจี้ยว
ข้าวเกรียบชุบน้ำให้อ่อนตัว นำส่วนประกอบทั้งหมดห่อด้วยข้าวเกรียบใส่น้ำเต้าเจี้ยว
ห่อพอดีคำ รับประทานเป็นของว่าง และสาธิตตุงไส้หมูให้ดู
บ้านจอมพล ถนอม กิตติขจร hellosarapa.com |
เช้าวันรุ่งขึ้นในวันใหม่ เราเดินทางไปตลาดริมเมย (ป้าย “สุดประจิมที่ริมเมย”)
. เลือกซื้อสินค้า ของที่ระลึก ณ ตลาดริมเมย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเมย
ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดี สหภาพเมียนมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่นี่มีสินค้า
ให้ช้อปปิ้งสารพัดสินค้าจากชุมชนตลาดที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของสหภาพพม่า
ซึ่งมีของพื้นเมืองมากมายทั้งของไทยและพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้ง ปลาหัวยุ่ง
เห็ดหอม ถั่วเครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี
เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีจากพม่า สำหรับคนรักเครื่องประดับให้เลือกกันจุใจ
การซื้อของในฝั่งพม่า ควรเดินดูรอบๆ และพิจารณาให้ละเอียด
เพราะสินค้าบางอย่างมีการทำลอกเลียนแบบ
ตลาดริมเมย hellosarapa.com |
จากนั้นออกเดินทางไปเที่ยวชมวัดไทยสามัคคี (แม่กื้ดหลวง) วัดไทยสามัคคีเดิมมีชื่อว่า
วัดเหนือ หรือ วัดใหม่ ตั้งอยู่บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ต.แม่กาษา อ.แม่สอด จ.ตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482
วัดไทยสามัคคีเป็นวัดที่เก่าแก่
ตั้งอยู่ในหมู่บ้านไทยสามัคคีซึ่งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวนำร่องไกลจากตัวอำเภอ
แม่สอดมาทางอำเภอแม่ระมาดเพียง
๘ ก.ม.
เป็นวัดที่มีความงดงามในด้านประติมากรรมและสถาปัตยกรรมตามแบบล้านนา
ตลอดจนถึงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ธรรมชาติป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
วิถีชีวิตชาวบ้านชนบทและความความมีไมตรีจิตที่ดีของชาวบ้านที่นี่ทำให้ทุกวันนี้
วัดไทยสามัคคีเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วไปตลอดจนถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาทำบุญและท่องเที่ยวที่วัดไทยสามัคคีกันอย่างไม่ขาดสาย
วัดไทยสามัคคี hellosarapa.com |
ภายในวัดแห่งนี้เราได้ไปกราบนมัสการพระเจ้าทันใจ • กราบสักการะรอยพระพุทธบาท • กราบนมัสการพระพุทธรูปปางสูติ • กราบนมัสการพระโพธิสัตว์กวนอิมไม้แกะสลัก • กราบนมัสการพระพิฆเนศไม้แกะสลักองค์ใหญ่ • เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์โฮงหลวง • รับประทานขนมจีนและขนมหวานเครื่องที่โฮงตาน
ฟรีทุกวัน • พักผ่อนร่างการชมธรรมชาติแมกไม้นานาพรรณ • กิจกรรมนวดแผนไทย ตอกเส้น
แบบโบราณ • กิจกรรมให้อาหารปลา
ณ เขตอภัยทาน (วังปลา) • ชมการแสดงวัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่น • เที่ยวชมป่าชุมชน ห้วยขนุน
ป่าอันดับหนึ่งของประเทศ • ซื้อของฝากผลิตภัณฑ์พื้นบ้านจากหมู่บ้านไทยสามัคคี
เราเดินทางไปเสพงานอาร์ต ณ Wisdom Field
ซึ่งแต่เดิมที่นี่เคยเป็นโรงงานมาก่อน
แต่ได้ถูกทิ้งร้างตามกาลเวลา
เจ้าของจึงได้ดัดแปลงที่นี่ให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาแทน
โดยได้ทุบกำแพงบางส่วน พร้อมกับเปิดโล่ง
ด้านบนให้ดูโปร่ง
ออกแบบลวดลายบนกำแพงทั้งด้านในและด้านนอกของโกดังอาร์ต
จนเป็นแลนด์มาร์กใหม่ที่หลายคนต้องแวะเวียนมาถ่ายรูป เสพงานอาร์ต์ ที่นี่
เป็นเวลากลางวันพอดีก็เลยรับประทานอาหารที่นี่ด้วยเลย
มาถึงเวลาแบบนี้ขาดเสียไม่ได้เราสั่งกาแฟลาเต้เย็นมานั่งทานกาแฟ ชมวิวธรรมชาติ ฝนตกเล็กน้อยเลยทำให้ต้นไม้
ต้นหญ้าเขียวชอุ่มเลยทีเดียว
Wisdom Field -hellosarapa.com |
เราเดินทางมาถึง บ้านป่าไร่เหนือ
ท่านผู้นำชุมชน นายผิ่ว สันโดษวนาไพร ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ได้รับชมการแสดง
ชุดแรก”กลองสะบัดชัย” ชุดสอง”รำปราสาทไหว” จากชุมชนบ้านโพธิ์ทอง
แม่กาษา ชุดที่ 3 “ระบำก๋วยน้อย”จากชุมชนบ้านป่าไร่เหนือ
ครับ
พาเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชุมชนปกาเกอะญอ ซึ่งยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้
สาเหตุที่ชื่อบ้านป่าไร่เหนือนั้นเพราะว่าในอดีตบริเวณหมู่บ้านมีไม้ไร่หรือไม้ไผ่ไร่จำนวนมาก
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวป่าเกอะญอ อาชีพหลัก คือ เกษตกรรม
รวมถึงมีการทอผ้าแบบป่าเกอะญอเป็นงานอดิเรก ประเพณีปฏิบัติของบ้านป่าไร่เหนือคือ
ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวพระธาตุ ผูกข้อมือ (ลาขุกี้จือ) เลี้ยงผีปู่ย่า
ประเพณีแต่งงาน
บ้านป่าไร่เหนือ hellosarapa.com |
บ้านป่าไร่เหนือเป็นชุมชนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่ยังคงยึดถือประเพณีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิม
มีการอนุรักษ์ป่าเขาธรรมชาติ ป่าชุมชน
และถือเป็นหมู่บ้านในประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านและพักแรมบริเวณถ้ำซามูไร
ที่บ้านป่าไร่เหนือ ในตำบลแม่ละมาด
ได้รับการส่งเสริมให้เข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวบนพื้นฐานชุมชนเพื่อชุมชน
ยังคงรักษาวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอไว้อย่างเหนียวแน่น
ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักไม้ไผ่ยกพื้นสูง ที่มุงด้วยใบตองตึง
มีโฮมสเตย์ท่ามกลางสายน้ำและป่าไม้ของที่นี่ ไว้ให้พักแรมอีกด้วย ราคาต่อหลัง 390
บาท (ราคามีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพของที่พัก)
เราเดินทางต่อไป อโรคยาศาลโป่งคำราม หรือ บ่อน้ำแร่โป่งคำราม ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำดิบ ตำบลแม่กาษา
จังหวัดตาก ซึ่งมี น้ำพุร้อนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพแห่งหนึ่งที่น่าสนใจของจังหวัดตาก เป็นการแช่
ออนเซ็นในถังไม้โอ๊คแบบญี่ปุ่นน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
(ความร้อนของน้ำอยู่ที่ประมาณ 30-45 องศา เวลาแช่ที่เหมาะสมประมาณ 30 นาทีเท่านั้น
เราแช่แล้วรู้สึกผ่อนคลายและสบายมากๆ
ซึ่งเราทราบมาว่าเป็นบ่อน้ำแร่ที่มีคุณภาพที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ
ที่มีความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาการเมื่อยล้าต่างๆได้
อโรคยาศาลโป่งคำราม hellosarapa.com |
การแช่น้ำแร่
จะต้องชำระร่างกายให้สะอาดก่อนลงอ่าง ไม่ควรแช่เกิน 15-20 นาที
เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียหรือช็อกได้ ควรอาบน้ำเย็นอีกครั้งเพื่อให้รูขุมขนปิด
ท่านที่มีโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรแช่เกิน 10 นาที ที่เดิมสุราหรือของมึนเมาควรงดการแช่น้ำแร่เพราะท่านจะอ่อนแรงหมดสติได้
มีผ้าถุงผ้าขาวม้า ให้เช่าผืนละ 20 บาท บริการแช่น้ำแร่ฟรี ไม่เสียค่าบริการ
เราเดินทางถึง ณ บ้านแม่กาษา (บ้านโพธิ์ทอง)
ได้รับการต้อนรับประทับใจมากจากผู้สูงอายุบ้านแม่กาษา
หลัง
จากนั้นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชน ณ บ้านโพธิ์ทอง จากน้องนักเรียนในชุมชนมาแสดงให้เราได้ดูกันอย่างเพลิดเพลินเลยทีเดียว
และรับประทานอาหารเย็นพื้นถิ่น
บ้านโพธิ์ทอง hellosarapa.com |
เช้าในวันนี้เราได้รับประทานโรตีโอ่งด้วย แป้งนิ่มอร่อยมากเลยทีเดียว
เมื่ออิ่มแล้วเราเดินทางต่อไปยังวัดไทยวัฒนาราม มาชมความสวยงามของวัดแห่งนี้
ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400
ชาวพม่าจากรัฐฉานที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอด
และเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว ที่ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า
หมื่นอาจคำแหงหาญ ครั้นในปี พ.ศ.2500
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้วัดนี้เป็นวัดพระพุทธศาสนา สังกัดกรมศาสนา
ภายในวัดไทยวัฒนารามมี พระพุทธมหามุณี
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุณีอันศักดิ์สิทธิ์คู่
บ้านคู่
เมืองของชาวเมืองมัณฑเลย์ ประเทศเมียนมาร์ - รูปปั้นหงส์สีทองที่งามสง่าและเจดีย์โกนวินทรงเครื่องสีทอง
- วิหารพระพุทธมหามุนี สถาปัตยกรรมของพม่า
บนหลังคาประดับด้วยเจดีย์องค์เล็กๆ
ภายในประดิษฐานของพระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่องซึ่งจำลองมาจากพระพุทธมหามุนี
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของพม่า
วัดไทยวัฒนาราม hellosarapa.com |
ก่อนเดินทางกลับแวะสักการะศาลเจ้าพ่อพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ศาลแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองตากและชาวอำเภอแม่สอดมาโดย
ตลอด
โดยภายในศาลมีรูปหล่อของเจ้าพ่อพระวอ ซึ่งประชาชนนำพวงมาลัยไปแขวนไว้ตรงมือของท่าน
บางคนที่ขับรถผ่านก็สักการะท่านด้วยการบีบแตรรถ
ศาลเจ้าพ่อพะวอ hellosarapa.com |
ด้านข้างศาลเจ้าพ่อพะวอขึ้นไป จะพบกับพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่
บนฐานรองรับซึ่งสร้างเป็นห้อง เศียรปกองค์พระโถงสร้างเป็นนาคแผ่ ลำตัวเลื้อยปกคลุมฐานชุกชีอีกด้วย
มีเรื่องเล่ากันว่าเจ้าพ่อพะวอนั้น แต่เดิมท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านที่ด่านแม่ละเมา
คอยป้องกันข้าศึกมิให้เดินทางข้ามเขามาถึงเมืองตากได้
พะวอได้ต่อสู้กับพม่าที่รุกรานเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเพื่อปกป้องเอกราชของ
ชาติจนตัว
แล้วเดินทางต่อไป ณ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ชมการแสดงวิถีชุมชนชาวมูเซอ
บ้านห้วยปลาหลด
ชุมชนชาวเขาเผ่ามูเซอดำ
(ลาหู่) ซึ่งอพยพมาจากทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ.2517 ในหลวงราชกาลที่ 9
ได้เสด็จที่บ้านห้วยปลาหลดและได้มีพระราชดำรัสให้มีการพัฒนาอาชีพ
โดยการพระราชทานพันธุ์กาแฟและให้ปลูกพืชผักตามฤดูกาลแทนการปลูกฝิ่นและการทำไร่เลื่อนลอย
ปัจจุบันชาวมูเซอได้หันมากาแฟพันธุ์ อาราบิก้า โรบัสต้า
และปลูกผักตามฤดูกาล เช่น ผักซาโยเต้ (ฟักแม้ว) ผักกาดเขียวปี ผักกวางตุ้ง
ผักฮ่องเต้ ผักปวยเล้ง สตอเบอร์รี่ อโวคาโด มะไฟ
เป็นอาชีพและแหล่งรายได้หลักของครัวเรือนและชุมชน โดยนำสินค้าไปจำหน่ายเองที่ตลาดมูเซอทั้งสองแห่งบ้านห้วยปลาหลด ณ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช hellosarapa.com |
#พาเที่ยวเมืองตาก
#ทททสำนักงานตาก
#เที่ยวตากหลากสไตล์
ขอขอบคุณ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นายจริยาทร สูหู่ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานตาก
นายสมชัย
กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
นายชุติเดช
มีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
นายสันติ
เที่ยงธรรม พัฒนาการจังหวัดตาก
นายประสิทธิ์
ปิ่มบุญ รักษาการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตาก
นายสมนึก
ปาปะเค วัฒนธรรมจังหวัดตาก
นายสุภาพ
พวงสมบัติ ประชาสัมพันธ์จังหวัดตาก
นายกำธร
บุญสา ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดตาก
นายปิยะ
เคนขยัน นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดตาก
นายสุธน
เวียงดาว หัวหน้าอุทยานตากสินมหาราช
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบ วารสาร ตาก
หลงรักประเทศไทย , ททท.สำนักงานตาก , กองข่าวสารท่องเที่ยว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น