กาสรกสิวิทย์ คือชื่อของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ มูลนิธิชัยพัฒนา
ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงเรียนแห่งนี้เมื่อวันอังคารที่ 10 มีนาคม 2552 เป้า
หมายในการดำเนินการ 1. ให้มีการนำกระบือมาใช้ในการทำการเกษตรมากขึ้น 2. ฝึกเกษตรกรให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตร่วมกับกระบือ สามารถใช้อุปกรณ์ไถนาได้อย่างถูกต้อง ควบคุมกระบือให้อยู่ในคำสั่ง สามารถเลี้ยงและดูแลกระบือ มีความรู้ในการจัดการเรื่องหญ้าและอาหารเสริม 3. เป็นสถานที่ที่ประชาชนสามารถเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านที่เรียบง่าย และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง 4. สร้างกลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงกระบือ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอาทิตยาทรกิตติคุณ ทรงออกแบบตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ (กาสร แปลว่า ควายหรือกระบือ และกสิวิทย์ คือ ความรู้สำหรับการกสิกรรม)
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้จัดอบรมหลักสูตรการฝึกกระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดําริ ด้วยวิธีฝึกเกษตรกรให้
สามารถใช้กระบือในการทำนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้อุปกรณ์ไถนาได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงสามารถเลี้ยงและดูแลกระบือโดยมีความรู้ในการจัดการเรื่องหญ้าและอาหารเสริม นอกจากนี้จะเสริมความรู้ด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ผสมผสาน และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง หลักสูตรดังกล่าวใช้เวลาทั้งสิ้น 10 วัน โดยเริ่มดำเนินการฝึกอบรมทุกวันที่ 1 - 10 ของเดือน
นิทรรศการจัดแสดงเครื่องมือการทำนา ที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมตามภูมิปัญญาของชาวบ้าน เป็นนิทรรศการที่มีชีวิต มีความเคลื่อนไหวและนำไปใช้งานจริง โดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดเวลา
ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เป็นต้นไม้ที่รับประทานได้ทั้งสิ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทรงปลูกต้นไม้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่โครงการ รวมถึงได้พระราชทานต้นกระเบาจากวังสระปทุม มาปลูกบริเวณด้านหน้าสำนักงาน ไม้ที่ปลูกมีทั้งไม้ผล สมุนไพร และต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น กระเบา มะรุม แค ขี้เหล็ก ชะอม ยอ มะดัน ฯลฯ
ปุ๋ยหมักธรรมชาติ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานวิธีการทำปุ๋ยหมักว่า " ต้นไม้ทุกชนิดต้องการอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตพูดง่ายๆ เราต้องใส่ปุ๋ย ไร่นา สวนของเรา พืชผล จึงจะงามดี เดี๋ยวนี้ปุ๋ยที่ซื้อตามท้องตลาดแพงเหลือเกิน เรามาทำปุ๋ยหมักใช้เองดีกว่า " โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาปฏิบัติและทดลองภายในบริเวณโรงเรียนฯ โดยได้จัดสวนแสดงบ่อปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้นเพื่อสาธิตและให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตน
ส่วนแสดงบ่อก๊าซชีวภาพ (พลังงานทดแทน) หนึ่งในพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินพระมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระราชดำริให้ทดลองผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร-มูลสัตว์ โดยใช้กระบวนการนำเศษอาหาร-มูลสัตว์มาหมักซึ่งจะได้ "Biogas" หรือ "ก๊าซชีวภาพ" สำหรับใช้
เป็นเชื้อเพลิงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและสามารถพึ่งตนเองได้
ร้าน "ควายคะนอง" สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ รายการเครื่องดื่มพิเศษ อาทิ ควายช็อค ควายเผือก ควายเลี้ยง ควายคะนองทุ่ง
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้จัดโครงการตลาดนัดสำหรับกลุ่มเกษตรกรโดยนำสินค้าด้านการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้านมาจำหน่าย เพื่อให้เกิดราย
ได้แก่ชาวบ้านและกลุ่มเกษตรกร โดยจัดจำหน่ายทุกวันเสาร์ - อาทิตย์
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ มีแปลงนาจำนวน 8 แปลง ประกอบด้วย แปลงนาดำ 4 แปลง แปลงนาหว่าน 4 แปลง สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันปลูกข้าว เพื่อให้เห็นความแตกต่างและลักษณะของข้าวในระยะต่างๆ โดยปลูกข้าวสลับกับพืชหลังนาและพืชบำรุงดิน เพื่อให้ดินในแปลงนามีความอุดมสมบูรณ์ เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี
ชนิด จำนวน 905 ตัว ลงในสระมารุมล้อมรัก ซึ่งอยู่หน้าโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ทั้งนี้บริเวณโดยรอบสระฯ ได้ปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นรูปแบบดินขั้นบันได เพื่อปลูกหญ้าแฝกป้องกันดินพังทลาย และปลูกต้นไม้หลายชนิดโดยเฉพาะต้นมะรุมและต้นรัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "สระมารุมล้อมรัก"กังหันน้ำชัยพัฒนา หนึ่งในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสียเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้นำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำในสระมะรุมล้อมรัก เพื่อรักษาคุณภาพน้ำและเพื่อเป็นสถานที่ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมและทราบถึงพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นที่มาของวันนักประดิษฐ์ไทย วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เลขที่ 999 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โทร. 037 43 5058
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น