พร้อมชูนวัตกรรม
และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
12 กุมภาพันธ์ 2562 นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร
ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะ
เพื่อเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยวแบบครบวงจร 10
ด้านส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวในยุค
4.0
โดยนายชัยรัตน์ได้กล่าวว่าในปี
2018 ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าในประเทศไทยทรงเป็น ประวัติการณ์
กว่า
38.2 5 ล้านคน และปีนี้คาดว่าจะทะลุ 40 ล้านคนสะท้อนให้เห็นว่า ททท
ได้ทำการตลาดและประชาสัมพันธ์สร้าง demand ได้อย่างยอดเยี่ยมดังนั้น สทท
ซึ่งเป็นตัวแทนของฝั่งผู้ประกอบการจึงต้องเร่งสร้างความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการให้สอดรับกันให้เกิดสมดุลของดีมานซัพพลายลดความเหลื่อมล้ำของเมืองหลักและเมืองรองและให้ทันสมัยกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในยุค
4.0 ที่เปลี่ยนไปเพื่อสร้างผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยได้มาตรฐานมีเอกลักษณ์ยั่งยืนและมีความอัจฉริยะตามแนวคิด
5s Safety Standard signature sustainable and smart
นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร
ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
“ประเด็นสำคัญของการแถลงในวันนี้ คือ
การที่เราได้รับเลือกมาเป็นประธานสภาในครั้งนี้ เราเห็นนโยบายของรัฐเรื่องมาตรฐานอะไรต่าง ๆ
นั้น โดยเฉพาะความปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยว และสมาร์ทซิตี้ต่าง ๆ เราจึงวางแผนกันว่า
จะจัดทีมการทำงานเป็นอนุกรรมการด้วยกัน 3-4 อนุฯ
และจึงเริ่มโครงการโดยมีการสัญจรไปที่จังหวัดสงขลา พร้อมกับเชิญ
5 มหาวิทยาลัยทางภาคใต้มาเซ็นต์ MOU ร่วมกัน โดยเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยละ
3 ท่าน มาร่วมแสดงความคิดเห็นกัน
ซึ่งก่อน
หน้านี้ทางเราได้เชิญท่องเที่ยวและกีฬาอีก 14 จังหวัดทางภาคใต้
ลงมานั่ง รับรู้ด้วยกันว่าจากนี้ต่อไปเราจะทำโครงการโดยมีการเขียนแผนอย่างชัดเจนเพื่อให้มีการรับรู้ดังกล่าวร่วมกัน
รายละเอียดโครงการและการเขียนแผนนั้นมาจากกรรมการและผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้ร่วมระดมความคิดเห็นออกมา และให้อาจารย์ทุกท่านช่วยดูและเรียบเรียงให้ข้อมูลถึงวิธีการเขียนแผนโครงการจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ผ่านขั้นตอนไปได้อย่างสำเร็จ”
ด้านคณะอนุกรรมการด้านความปลอดภัย
(Safety Tourism) นำโดย ดร.สุเมธ โสภณเสถียร
ประธานคณะอนุกรรมการ ได้รวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคการศึกษา เพื่อเดินหน้าบูรณาการตั้งแต่การวางมาตรฐาน การป้องกันภัย
การเตือนภัย และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเชื่อมโยงคลัสเตอร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทั้ง
10 คลัสเตอร์ คือ ด้านการเดินทาง ทั้งรถ
เรือ ราง และเครื่องบิน ด้านที่พักแรม ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงสันทนาการและชุมชน ด้านอาหารและเครื่องดื่ม ด้านสินค้าและร้าน ขายสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยว ด้านบริษัทนำเที่ยวทั้งภายใน
และต่างประเทศ ด้านมัคคุเทศก์ ด้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเวลเนส ด้านท่องเที่ยวเชิงกีฬา อนุ รักษ์และการผจญภัย รวมถึงด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีวิศวกรรม และไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างค่านิยมและมาตรฐานความปลอดภัยให้แก่ผู้ประกอบการและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจะมีโครงการนำร่องเพื่อรณรงค์ลดอุบัติเหตุในช่วงวันสงกรานต์นี้ โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถบัสที่มีเป้าหมายลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์
คณะอนุกรรมการท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart
Tourism) นำโดยนายประดิษฐ์ วัชระดนัย
ประธานอนุกรรมการฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถ
ปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยยุทธศาสตร์ SMART ที่ประกอบด้วย (S) Signature
Product คือการสร้างสรรสินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์ มีคุณค่าและต่อกลุ่มเฉพาะ (M)
Marketing O2O คือการทำตลาดแบบออนไลน์ควบคู่กับออฟไลน์ให้มีประสิทธิภาพ
(A) AI & Big Data คือ การนำข้อมูลดิจิตอลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ (R) Research & Development คือ การนำข้อมูลจากงานวิจัยมาพัฒนาให้เหมาะสมกับธุรกิจ
(T) Technology & Tranformation คือ การยกระดับองค์กรด้วยเทคโนโลยีทางด้านการตลาด การบริหารและบริการ
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism) นำโดยนายภูริวัจน์ ลิ้มถาวรรัตน์
ประธาน
อนุกรรมการ มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย มีเอกลักษณ์ และยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟู พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทั้งในเชิงธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมเทคนิคในการเล่าเรื่อง (Storytelling) เพื่อดึงเสน่ห์และคุณค่าของแต่ละท้องถิ่นไทย ทั้งด้านอาหาร ดนตรี งานประเพณี อาหารและการแต่งกาย เพื่อยกระดับมูลค่าและกระจายรายได้ไปยังชุมชนเมืองรอง รวมถึงพื้นที่รองในเมืองหลัก ให้เกิดความสมดุลในการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้และความสามารถในการแข่งขัน ให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถปรับตัวเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
อนุกรรมการ มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย มีเอกลักษณ์ และยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟู พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทั้งในเชิงธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมเทคนิคในการเล่าเรื่อง (Storytelling) เพื่อดึงเสน่ห์และคุณค่าของแต่ละท้องถิ่นไทย ทั้งด้านอาหาร ดนตรี งานประเพณี อาหารและการแต่งกาย เพื่อยกระดับมูลค่าและกระจายรายได้ไปยังชุมชนเมืองรอง รวมถึงพื้นที่รองในเมืองหลัก ให้เกิดความสมดุลในการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้และความสามารถในการแข่งขัน ให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถปรับตัวเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
นายชัยรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจัยสำคัญที่ต้องการกล่าวเพิ่มเติมคือ
การที่เราได้มาร่วมบริหารในช่วงเริ่มต้นนี้ คณะกรรมการต่าง ๆ อาจจะยังไม่รู้จักกันทั้งหมด
เนื่องจากมีคณะกรรมการที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคจึงได้มีการจัดประชุมในช่วงระยะเวลา 3 วัน 2
คืน เพื่อได้ละลายพฤติกรรมได้รู้จักกันดีมากขึ้น
บทบาทหน้าที่ของสภาฯแต่ละจังหวัดก็จะได้รับรู้ร่วมกัน
สำหรับประเด็นหลักของการประชุมก็จะล้อไปกับยุทธศาสตร์ชาติในวันข้างหน้าที่จะแบ่งเป็น 6 ภาค ซึ่ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็น 1 ใน 6 ที่เราจะดูก่อนว่าแนวทางและนโยบายของทางภาครัฐจะเป็นในรูปทิศทางใดเราจึงจะเดินตามไปแผนยุทธศาตร์ชาติเช่นกัน ดังนั้น
จึงขอฝากถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวว่า
ควรให้ความสำคัญเรื่องแผนการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเป็นลำดับต้น ๆ
และเมื่อนำนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วให้กระจายรายได้ออกสู่เมืองรองบ้าง
หน้าที่เราคือต้องรักษาคุณภาพการบริหารจัดการ และการบริการให้ดี
ช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานของตัวเองสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในพื้นที่ให้รู้สึกอบอุ่น
ยิ้มแย้มแจ่มใสแสดงความเป็นเจ้าบ้านที่ดี ให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่า “การมาประเทศไทยแล้วมีความสุข”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น